วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้




                                   นางสาวประภาพรรณ  อ่อนสุนทร 5981163012  นวัตกรรมD4
                                          

                                                       นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นาฏศิลป์ภาคใต้



การแสดงพื้นเมืองภาคใต้  ด้วยเหตุที่ภาคใต้เป็นภาคที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาลาเชีย และเป็นดินแดนที่ติดทะเล ทำให้เกิดการผสมผสานทั้งทางศาสนา วัฒนธรรม และอารยธรรมจากกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ เกี่ยวโยงถึงศาสนาและพิธีกรรม จนทำให้นาฏศิลป์ และดนตรีในภาคใต้มีลักษณะที่เป็นเครื่องบันเทิงทั้งในพิธีกรรม และพิธีชาวบ้าน รวมทั้งงานรื่นเริงโดยมีลักษณะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีจังหวะที่เร่งเร้า กระฉับกระเฉง ผิดจากภาคอื่นๆ และเน้นจังหวะมากกว่าท่วงทำนอง โดยมีลักษณะที่เด่นชัดของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีให้จังหวะเป็นสำคัญ ส่วนลีลาท่ารำจะมีความคล่องแคล่วว่องไว สนุกสนาน การแสดงพื้นเมืองภาคใต้มีทั้งแบบพื้นเมืองเดิม และแบบประยุกต์ที่ได้แนวความคิดมาแล้วพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบใหม่ หรือรับมาบางส่วนแล้วแต่งเติมเข้าไป
 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้  ได้แก่




หนังตะลุง  เรียกว่า “หนัง หรือ หนังควน ในสมัยโบราณนิยมแสดงในงานนักขัตฤกษ์ และงานฉลองต่างๆ
ลิเกป่า เป็นการแสดงพื้นเมืองภาคใต้อีกอย่างหนึ่ง นิยมแสดงในงานทั่วไปหรือใช้ในงานแก้บน
โนรา เป็นการแสดงแบบโบราณที่มีมาช้านาน นิยมแสดงเพื่อความเป็นสิริมงคล
โต๊ะครึม เป็นการแสดงประกอบการเข้าทรง เพื่อบูชาสิ่งศักสิทธิ์ หรือบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ
สิละ เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า
รองเง็ง เป็นการแสดงของชาวไทยมุสลิมที่ได้รับความนิยมมาก เป็นการเต้นรำระหว่างหญิง-ชาย ในงานมงคล
ซัมเป็ง เป็นการรำตามจังหวะเพลง แสดงในงานรื่นเริงต่างๆหรืองานต้อนรับแขกเมือง
มะโยง เป็นศิลปะการแสดงละครของชาวไทยมุสลิมจากวังรายา เมืองปัตตานีในอดีต ใช้ผู้แสดงส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ยกเว้นตัวตลก พระเอกเรียกว่าเปาะโย่ง นางเอกเรียกว่ามะโยง
ตารีกีปัส เป็นการรำพัด ซึ่งเกิดจากการผสมผสานกับการแสดงของมาเลเซียในเพลงชื่อบัวกาน่า วงดนตรีพื้นบ้านผสมสากล แสดงได้สองแบบคือชาย-หญิง และหญิงล้วน
ร่อนแร่ เป็นการแสดงที่นำกรรมวิธีร่อนแร่มาสร้างสรรค์ลีลาท่ารำ
ปาแต๊ะ เป็นการแสดงระบำพื้นเมือง ลีลาท่ารำนำมาจากกรรมวิธีการย้อมทำลวดลายโสร่งปาเต๊ะของไทยมุสลิม ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน
การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง   ภาคกลางเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านกสิกรรม และเกษตรกรรม ทำให้เป็นภาคที่มีความสมบูรณ์ ประชาชนมีความเป็นอยู่สุขสบาย การแสดงหรือการละเล่น ที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปในลักษณะที่สนุกสนาน หรือเป็นการร้องเกี้ยวพาราสีกัน เช่น เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว หรือเป็นการแสดงพื้นเมืองที่สื่อให้เห็นการประกอบอาชีพ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นาฏศิลป์ภาคใต้


ที่มา http://www.culture.go.th






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

นางสาวประภาพรรณ  อ่อนสุนทร 5981163012  นวัตกรรม D 4                                                                                   ...