นางสาวประภาพรรณ อ่อนสุนทร
5981163012 นวัตกรรมD4
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน ศิลปะการแสดงภาคอีสาน จะมีลักษณะคล้ายภาคเหนือ ในการรวมกลุ่มของชนชาติต่างๆ เช่นพวกไทยลาว ภูไทย ไทยพวน แสก โซ่ แต่ละกลุ่มมีลักษณะแตกต่างตามเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ แต่ยังมีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นการแสดงที่เกิดขึ้นเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา และความสนุกสนานรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ การร่ายรำจะมีลักษณะเฉพาะของการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ก้าวเท้า การวาดแขน การยกเท้า การส่ายมือ การส่ายสะโพก ที่เกิดขึ้นจากท่าทางอันเป็นธรรมชาติที่ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวัน แล้วนำมาประดิษฐ์หรือปรุงแต่งให้สวยงามตามแบบท้องถิ่นอีสานเช่นทำท่าทางลักษณะเเอ่นตัวแล้วโยกตัวไปมา เวลาก้าวตามจังหวะก็มีการกระแทกกระทั้นตัว ดีดขา ขยับเอว ขยับไหล่ เน้นความสนุกสนาน
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของชนพื้นเมืองกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ การแสดงพื้นเมืองภาคอีสานจะมีทั้งการแสดงที่เป็นแบบดั่งเดิมที่มีการสืบทอดกันมา และการแสดงที่เกิดขึ้นในแต่ละท้องถิ่นเป็นไปตามความถนัดหรือความสามารถของแต่ละคน โดยไม่มีระเบียบแบบแผน
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน ได้แก่
- กันตรึม เป็นการแสดงเพื่อบูชาหรือบูชาหรือบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใช้ในงานพิธีกรรมต่างๆ
- ฟ้อนภูไท เป็นการฟ้อนเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ และฟ้อนในงานประเพณีต่างๆ
- เซิ้งตังหวาย เป็นการแสดงเพื่อถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือในงานพิธีกรรมต่างๆ
- เซิ้งบั้งไฟ เป็นการฟ้อนในพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการขอฝน
- เรือมจับกรับ เป็นการแสดงที่ใช้ผู้ชายถือกรับออกมาร่ายรำไปตามจังหวะเพลงโดยไม่มีแบบแผน หรือทำท่าที่แน่นอน เป็นการรำเพื่อความสนุกสนาน
- เรือมอันเร หรือ กระทบไม้ บางทีก็เรียกว่า แสกเต้นสาก เป็นการแสดงที่ใช้ไม้ไผ่มากระทบกันตามจังหวะเพลง แล้วผู้รำก็กระโดดข้ามไม้ด้วยท่าทางต่างๆ
- มวยโบราณ เป็นศิลปะการต่อสู้ที่แสดงถึงความกล้าหาญ เข้มแข็ง นิยมแสดงในเทศกาลต่างๆ
การแสดงพื้นเมืองของกรมศิลปากร ปัจจุบันการแสดงพื้นเมืองมีอยู่มากมายตามภูมิภาคต่างๆ มีทั้งที่เป็นแบบแผนดั้งเดิม และแบบที่คิดขึ้นใหม่ เพราะสาเหตุแห่งความนิยมทางวัฒนธรรมพื้นเมือง ด้วยการแลกเปลี่ยนในรูปแบบของการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และการแสดงวัฒนธรรมสี่ภาค รวมทั้งการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบ หรือแม้กระทั้งการแสดงเพื่อเป็น เอกลักษณ์ของจังหวัด มาให้การแสดงพื้นเมืองเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย กอปรกับผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรได้รับความรู้ด้านการแสดงพื้นเมือง นำมาถ่ายทอด และฝึกหัด เพื่อใช้สำหรับการแสดงในงานต่างๆ ทำให้ชุดการแสดงพื้นเมืองเป็นที่นิยมแพร่หลาย ซึ่งเมื่อกรมศิลปากรนำมาจัดแสดงจะมีทั้งที่เป็น
แบบแผนดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
๓.๑ แบบดั้งเดิม
เป็นการแสดงพื้นเมืองที่เกิดขึ้นในชนบทของทุกภาคของประเทศไทย สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรม และสภาพของสังคม รวมทั้งการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ในแต่ละท้องถิ่น ที่มีความแตกต่างกันตามลักษณะภูมิอากาศ ออกมาเป็นการแสดงในรูปแบบของการละเล่นกันในกลุ่มชนเพื่อพิธีการ เพื่อความสนุกสนาน หรือเพื่อเทศกาลที่สำคัญๆ ได้แก่
- กลองสะบัดชัย
- ฟ้อนเล็บ
- ฟ้อนเทียน
- ฟ้อนเงี้ยว
- ฟ้อนเจิง
- ฟ้อนดาบ
- รำโนรา
- รำสิละ
- แสกเต้นสาก
- ฟ้อนภูไท
- เซิ้งกระติ๊บข้าว
- รำโทน
- รำแม่ศรี
- เรือมจับกรับ
- เซิ้งกะโป๋
- เซิ้งบั้งไฟ
- เซิ้งตังหวาย
๓.๒ แบบที่กรมศิลปากรประดิษฐ์ขึ้นใหม่
เป็นการแสดงพื้นเมืองที่กรมศิลปากรนำมาปรับปรุง และประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมทั้งในด้านความสวยงาม และระยะเวลาในการแสดงให้มีความกระชับ และรวดเร็ว ซึ่งเป็นชุดการแสดงที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่
- ฟ้อนแพน
- ฟ้อนสาวไหม
- ฟ้อนมาลัย
- ฟ้อนดวงเดือน
- ฟ้อนจันทราพาฝัน
- ระบำตารีกีปัส
- ระบำร่อนแร่
- รำซัดชาตรี
- ระบำศิลปากร
- ระบำเก็บใบชา
- ระบำชาวนา
- ระบำสี่ภาค
- ระบำไตรภาคี
- ระบำตรีลีลา
- เซิ้งโปงลาง
- เซิ้งอีสาน
- เซิ้งสวิง
- เซิ้งกระหยัง
- เซิ้งสราญ
ที่มา https://sites.google.com
https://suttinee2541.wordpress.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น